สมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรป (ค.ศ. 400-700) ของ ต้นสมัยกลาง

The มอโซเลียมของจักรพรรดิธีโอดอริคในราเวนนาเป็นสถาปัตยกรรมแบบออสโตรกอธแห่งเดียวที่ยังคงเหลืออยู่

ชาวกอทและแวนดัลเป็นเพียงชนกลุ่มแรกที่เข้ามารุกรานจักรวรรดิโรมันที่ต่อมาตามมาด้วยชนกลุ่มอื่นๆ อีกหลายระลอกจากยุโรปตะวันตก บางกลุ่มก็ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการทำสงครามและการปล้นสดม และมีความชิงชังในวิถีชีวิตของชาวโรมัน แต่บางกลุ่มก็ชื่นชมและต้องการจะเอาแบบอย่างโดยการเป็นผู้สืบอำนาจและวัฒนธรรมต่อจากจักรวรรดิโรมัน ซึ่งทำให้พระเจ้าธีโอดอริคมหาราชพระมหากษัตริย์ของออสโตรกอธทรงออกความเห็นว่า “โรมันตกยากทำตัวเป็นกอธ กอธได้ดีทำตัวเป็นโรมัน”[6]

ประชาชนของจักรวรรดิที่เป็นโรมันคาทอลิกเป็นประชาชนที่คุ้นเคยกับสังคมที่มีระเบียบแบบแผนของอาณาจักรซึ่งเป็นสังคมที่มีระบบการปกครองและการบริหารมานาน แต่ชนเจอร์มานิคที่เข้ามาใหม่ไม่มีความคุ้นเคยกับการใช้ชีวิตของการเป็นเมืองหรือระบบการเป็นเมืองที่ประกอบด้วยระบบการบริหาร ระบบเงินตรา ระบบการศึกษา และอื่นๆ และเป็นผู้ที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ลัทธิเอเรียสซึ่งผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกผู้เคร่งครัดในจักรวรรดิถือกันว่าเป็นลัทธิที่นอกรีต

สมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรปมักจะเรียกกันผิดๆ ว่าเป็น “ยุคมืด” โดยนักประวัติศาสตร์ยุโรปตะวันตก หรือ “Völkerwanderung” (สมัยชนเร่ร่อน) โดยนักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมัน คำว่า “ยุคมืด” อาจจะมาหมดความนิยมใช้กันตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง สาเหตุหนึ่งก็เพราะความหมายของคำทำให้เกิดความเข้าใจผิดถึงสภาวะโดยทั่วไปของยุค และจากการค้นคว้าทางโบราณคดีเมื่อไม่นานมานี้ก็พบว่าตรงกันข้ามกับความเชื่อโดยทั่วไปที่ว่าเป็นสมัยที่ล้าหลังทางด้านศิลปะ เทคโนโลยี การปกครอง และระบบสังคม[ต้องการอ้างอิง]

ผู้ตั้งถิ่นฐานก่อนหน้าที่จะมีการโยกย้ายไม่มีผลกระทบกระเทือนเท่าใดนัก ขณะที่พลเมืองในฝรั่งเศส อิตาลี และสเปนยังคงพูดภาษาละตินท้องถิ่น ที่ปัจจุบันถือว่าเป็นกลุ่มภาษาโรมานซ์ แต่ภาษากลุ่มนี้ก็แทบไม่เหลือร่องรอยในอาณาบริเวณที่ชาวแองโกล-แซกซันพิชิตได้ที่ในปัจจุบันคืออังกฤษ แต่ราชอาณาจักรบริตานิคทางตะวันตกยังคงพูดภาษากลุ่มบริธอนิค (Brythonic) นอกจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านภาษาแล้วชนกลุ่มใหม่ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานก็ยังเข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบสังคม กฎหมาย วัฒนธรรม ศาสนา และ การเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ด้วย

Around 500, the วิซิกอธปกครองดินแดนที่ปัจจุบันคือฝรั่งเศส สเปน และโปรตุเกส

pax Romana” ของจักรวรรดิโรมันที่เป็นระบบที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อสร้างความปลอดภัยในการค้าขายและการผลิตสินค้า และส่งเสริมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของวัฒนธรรม และ การศึกษาในดินแดนที่ไกลออกไปของจักรวรรดิ ระบบนี้ก็มาสลายตัวลงไปและมาแทนที่ด้วยการปกครองโดยผู้ครองระดับท้องถิ่นที่บางครั้งก็เป็นชนท้องถิ่นชั้นสูงที่รับระบบโรมันเข้ามาปฏิบัติ หรือบางครั้งก็อาจจะเป็นลอร์ดของผู้ต่างวัฒนธรรม แต่วัฒนธรรมโรมันในบริเวณกาลเลียอควิทาเนีย, กาลเลียนาร์โบเนนซิส, อิตาลีตอนใต้และซิซิลี, ฮิสปาเนียเบติคา หรือสเปนตอนใต้ และฝั่งไอบีเรียนเมดิเตอเรเนียนก็ยังคงใช้ปฏิบัติกันต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 6 ถึง 7

การแตกสลายของระบบเศรษฐกิจและระบบสังคมโดยทั่วไปที่จักรวรรดิโรมันได้วางรากฐานไว้เป็นผลทำให้การปกครองกลายเป็นระบบที่อำนาจการปกครองกระจายออกไปจากศูนย์กลางเป็นอำนาจของการปกครองระดับท้องถิ่นที่ไม่ขึ้นอยู่กับศูนย์กลางใหญ่เช่นโรม การล่มสลายโดยทั่วไปเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องมาจากการขาดความปลอดภัยในการเดินทางและการขนส่งสินค้าเพื่อทำการค้าขาย ซึ่งเป็นผลให้การผลิตสินค้าสำหรับส่งออกและการค้าขายในดินแดนต่างๆ ในจักรวรรดิต้องมาหยุดชะงักลง อุตสาหกรรมสำคัญที่ขึ้นอยู่กับการค้าขายเช่นการทำเครื่องปั้นดินเผาก็หายไปแทบจะทันทีในสถานที่เช่นอังกฤษ แต่ศูนย์กลางเช่นทินทาเจลในคอร์นวอลล์และที่อื่นๆ อีกหลายแห่งก็ยังคงสามารถทำการค้าขายสินค้าฟุ่มเฟือยได้มาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 6 แต่ในที่สุดการติดต่อเหล่านี้ก็สลายตัวไป เช่นเดียวกับระบบการบริหาร การศึกษา และการทหาร การสูญเสีย “cursus honorum” หรือระดับตำแหน่งในการรับหน้าที่ราชการนำไปสู่การยุบระบบการศึกษาซึ่งทำให้มีประชากรที่ขาดการศึกษาเพิ่มขึ้นแม้แต่ในหมู่ผู้นำ

ในบริเวณที่เดิมเป็นบริเวณของโรมันก็สูญเสียประชากรไปประมาณ 20% ระหว่างปี ค.ศ. 400 ถึงปี ค.ศ. 600 หรือลดลงไปถึงหนึ่งในสามระหว่างปี ค.ศ. 150 ถึงปี ค.ศ. 600[7] ในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ปริมาณการค้าขายก็ลดลงไปถึงจุดที่ต่ำที่สุดตั้งแต่ยุคสัมริด ซึ่งจะเห็นได้จากจำนวนเรือแตกที่พบตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 8 ที่มีจำนวนน้อยลงเหลือเพียง 2% ของจำนวนที่พบในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ซึ่งประจวบกับการหดตัวของผลิตผลทางเกษตรกรรมราวปี ค.ศ. 500 และ ในช่วงเวลาเดียวกับที่อุณภูมิของโลกเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วที่ทราบได้จากการศึกษาวงแหวนของต้นไม้[8] การใช้ระบบเกษตรกรรมสองแปลงของโรมันซึ่งเป็นระบบที่ปลูกพืชแปลงหนึ่งและทิ้งอีกแปลงหนึ่งไว้และไถคราดเพื่อกำจัดวัชพืชก็หยุดชะงักลง เมื่อระบบสถาบันต่างๆ ค่อยๆ ล่มสลายลงเจ้าของที่ดินก็ไม่สามารถหยุดยั้งทาสจากการหนีไปจากที่ดินทางเกษตรกรรมซึ่งก็เป็นผลทำให้ระบบเกษตรกรรมเสื่อมโทรมลง และการเกษตรกรรมอย่างมีระบบก็สิ้นสุดลงตามไปด้วย ซึ่งมีผลทำให้จำนวนผลิตผลต่ำลงจนเหลือเพียงระดับที่ทำแต่เพียงพอกิน

กรุงโรมเดิมเป็นเมืองที่มีความสำคัญที่สุดทางการเมือง มีความมั่งคั่งที่สุด และ เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกมาเกือบหนึ่งพันปี[9] ที่ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1 มีประชากรกว่าหนึ่งล้านคน[10] แต่เมื่อมาถึงยุคกลางตอนต้นจำนวนประชากรของโรมก็ลดลงไปเหลือเพียง 20,000 คน เมืองที่เคยมีผู้คนอยู่กันอย่างหนาแน่นก็แทบจะกลายเป็นเมืองร้างที่มีเพียงผู้อยู่อาศัยอยู่กันเป็นหย่อมๆ ท่ามกลางสิ่งก่อสร้างที่ปรักหักพังและเป็นป่าเป็นพง[11]

ปัจจัยอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ประชากรยุบตัวลงมากคือการระบาดของโรค ฝีดาษไม่ได้เข้ามาเผยแพร่ในยุโรปตะวันตกจนกระทั่งราว ค.ศ. 581 เมื่อนักบุญเกรกัวร์แห่งตูร์บรรยายลักษณะของผู้ป่วยที่เป็นลักษณะเดียวกับผู้ป่วยด้วยฝีดาษ[12] โรคระบาดที่เข้ามาเป็นระลอกๆ จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้จำนวนประชากรในชนบทลดจำนวนลงไปเป็นอันมาก[13] แต่ก็ไม่มีรายละเอียดเท่าใดนักเพราะรายละเอียดส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับโรคระบาดสูญหายไปหมด แต่ประมาณกันว่าโรคระบาดจัสติเนียนคร่าชีวิตคนไปราว 100 ล้านคนทั่วโลก[14][15] นักประวัติศาสตร์บางคนเช่นโจไซยาห์ ซี. รัสเซลล์ (ค.ศ. 1958) ตั้งข้อเสนอว่ายุโรปทั้งหมดสูญเสียประชากรไปราว 50 ถึง 60% ระหว่างปี ค.ศ. 541 ถึงปี ค.ศ. 700[16] หลังจากปี ค.ศ. 750 โรคระบาดใหญ่ก็มิได้เกิดขึ้นในยุโรปอีกจนกระทั่งมาถึงการระบาดของกาฬโรคครั้งใหญ่ในคริสต์ศตวรรษที่ 14

ใกล้เคียง

ต้นสมัยกลาง ต้นสมอไทย ต้นไม้ตัดสินใจ ต้นไม้ของพ่อ ต้นไม้แบบที ต้นไม้แห่งการรู้ถึงความดีและความชั่ว ต้นไม้ (ทฤษฎีกราฟ) ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ต้นไม้ (โครงสร้างข้อมูล) ต้นไม้แดงดำ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ต้นสมัยกลาง http://home.vicnet.net.au/~ozideas/poprus.htm http://calendar.dir.bg/inner.php?d=16&month=2&year... http://www.programata.bg/?p=62&c=1&id=51493&l=2 http://geography.about.com/library/weekly/aa011201... http://www.absoluteastronomy.com/topics/Rome http://www.britannica.com/eb/article-9239 http://www.britannica.com/ebi/article-207743 http://www.livescience.com/history/080623-hs-small... http://www.speedylook.com/Bulgaria.html http://www.unrv.com/empire/roman-population.php